ยิมนาสติก คือ เป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อทดสอบความแข็งแรง (Strength) ของนักกีฬา รวมทั้งจังหวะ (Rhythm) ความยืดหยุ่นตัวหรือความอ่อนตัว (Flexibility) และ ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics) ยิมนาสติกลีลา (Rhythmic Gymnastics) และ แทรมโปลิน (Trampoline) สำหรับยิมนาสติกสากลและแทรมโปลินจะแข่งขันได้ทั้งชายและหญิง ส่วนยิมนาสติกลีลาจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น
ยิมนาสติกสากลจะประกอบด้วยประเภทแข่งขันต่างๆ และในแต่ละประเภทก็จะมีกรรมการตัดสินเพื่อให้ได้ผู้ชนะ ยิมนาสติกลีลาก็ประกอบด้วยประเภทแข่งขันต่างๆ โดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ลูกบอล ห่วงฮูล่า เป็นต้น ส่วนในการแข่งขันแทรมโปลินก็จะพิจารณาหาผู้ชนะจากท่าที่ใช้ขณะที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ กติกาการแข่งขันยิมนาสติกถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation Internationale de Gymnastique (FIG) ตั้งอยู่ที่เมืองมัวเตีย (Moutier) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสาขาในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ที่เมืองอินเดียนาโปลิส มลรัฐอินเดียนา สาขาในแคนาดาอยู่ที่เขตกลูเชสเตอร์ เมืองออนตาริโอ
ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้รุกรานประเทศกรีก จึงได้นำยิมนาสติกมาฝึกให้กับทหาร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพ แต่เมื่ออาณาจักรโรมันได้เสื่อมอำนาจลง กิจกรรมยิมนาสติกก็ได้รับความสนใจและความนิยมน้อยลงตามไปด้วย จนกระทั่งถึงยุคกลาง ( Middle Age ) ระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ( พ.ศ. 1943-พ.ศ. 2143 ) กิจกรรมยิมนาสติกของกรีกก็ได้รับการฟื้นฟู ประชาชนมีความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้กิจกรรมยิมนาสติกแพร่หลายไปในทวีปยุโรป
โดยในปี พ.ศ. 2266-2333 นายโจฮัน เบสโดว์ (Johann Basedow) แห่งเยอรมันนี นักการศึกษาที่สำคัญได้บรรจุการออกกำลังกายแบบยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2319
จากนั้นในปี พ.ศ. 2302-2382 นักการศึกษาอีกผู้หนึ่งคือ นายโจฮัน กัตส์ มัธส์ (Johann Guts Muths) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “คุณปู่แห่งกีฬายิมนาสติก” ได้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนปรัชเซีย และท่านผู้นี้ยังได้เขียนตำราที่มีคุณค่าต่อการศึกษาไว้หลายเล่ม รวมทั้งตำรายิมนาสติกสำหรับเยาวชนด้วย นับว่าเป็นตำรายิมนาสติกเล่มแรกของโลก
ในปี พ.ศ. 2321-2395 นายเฟรดริค จาน (Frederick Jahn) ชาวเยอรมันได้คิดประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับยิมนาสติกไว้มากมาย เช่น ราวเดี่ยว ราวคู่ ม้าหู หีบกระโดด ม้ายาวชนิดสั้น (Buck) และในปี พ.ศ. 2345ได้สร้างสถานที่ฝึกยิมนาสติกโดยเฉพาะเรียกว่า เทอนเวอเรียน (Tarnverein) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ทาให้กีฬายิมนาสติกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เขาจึงได้สมญาว่า บิดาแห่งกีฬายิมนาสติก
ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2353-2401 นักศึกษาที่มีความสำคัญต่อวงการพลศึกษาอีกท่านหนึ่งคือ นายอดอฟ สปีช (Adole Spiess) ชาวสวิส เป็นผู้เสนอให้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และในปี พ.ศ. 2383-พ.ศ.2467 นายดัดเลย์ เอ ซาเกนท์ (Dudley A Sargent) ชาวอเมริกา เป็นครูสอนยิมนาสติกที่วิทยาลัยโบวดอย (Bowdoin lleqen) ซึ่งเขาได้บรรจุยิมนาสติกไว้ในหลักสูตรระดับวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ
นอกจากนั้นยังมีสมาคมที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกีฬายิมนาสติก คือ สมาคม Y.M.C.A. (The Young Men’s Christian Association) ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ยิมนาสติกไว้ในโรงยิมเนเซียม และมีครูสอนเพื่อบริการแก่สมาชิกที่เข้ามาเล่น จึงทำให้ยิมนาสติกได้รับความนิยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศในแถบเอเชียที่มีการฝึกอย่างจริงจังคือ จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น
ประวัติและพัฒนาการของกีฬา ยิมนาสติก คือ
ยิมนาสติก คือ เริ่มขึ้นเมื่อใดและที่ไหนไม่มีหลักฐานแน่ชัด เรารู้แต่เพียงว่าในสมัยก่อนคำว่า “ยิมนาสติก” หมายถึง “กิจกรรมการเคลื่อนไหว” หรืออาจแปลได้ว่ายิมนาสติกเป็นกีฬาหรือกรีฑาก็ได้ แม้แต่ทุกวันนี้ ในประเทศเยอรมนี การพลศึกษายังเรียกว่า “ยิมนาสติก” หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าชาวจีนเกิดแนวคิดในการออกกำลังกายและใช้พลังของพวกเขาอาจกล่าวได้ว่าเป็นการป้องกันและรักษาโรค ฉันรู้ด้วยว่า คล้ายกับการปีนเชือกและตีลังกายิมนาสติกในปัจจุบัน ชาวกรีกและชาวโรมันคิดว่าเป็นผู้ก่อตั้งที่สนใจและฝึกฝนยิมนาสติกอย่างจริงจัง ได้รับการเน้น “ยิมนาสติกเยาวชน” โดยอัญเชิญกิจกรรมเหล่านี้มาเต้นประกอบเพลงและเล่นเกมต่างๆ ชาวโรมันได้รับอารยธรรมจากกรีก แนะนำกิจกรรมยิมนาสติกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของทหาร กิจกรรมที่ฝึก ได้แก่ วิ่ง กระโดดม้า ขว้างหอก ขว้างหิน ฟันดาบ ไต่เชือก ปีนกำแพง และมวยปล้ำ “ยิมนาสติกสำหรับกองทัพบก”
ประวัติความเป็นมาของกีฬายิมนาสติก ในประเทศไทย
ต้นกำเนิดของกีฬายิมนาสติกในประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะสมัยนั้นทรงส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เมื่อกลับมาก็นำวิชายิมนาสติกมาเผยแพร่ ทรงเริ่มสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อมากระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่ายิมนาสติกช่วยพัฒนาร่างกายและจิตใจ เลยให้อาจารย์คุนเจนปฏิบัติ หลังจากเรียนรู้รูปแบบนี้จากต่างประเทศแล้ว เขาสอนยิมนาสติกที่โรงเรียนสวนสโมสรวิทยาลัย
- พ.ศ. 2511 ยิมนาสติกในประเทศไทยพัฒนาขึ้นเมื่อมีการก่อตั้งสมาคมยิมนาสติกไทยเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2511 ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการโอลิมปิคไทยและสหพันธ์ยิมนาสติกสากลในปี พ.ศ. 2515 แสดงหนึ่งกีฬา
- พ.ศ.2515 มีการสอนในวิทยาลัยพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอย่างจริงจังและเริ่มมีการแสดงโชว์ตามสถานที่ต่าง ๆ และประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (F.I.G) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ในปีเดียวกัน
- พ.ศ.2520 ได้มีการอบรมเกี่ยวกับกติกาและการจัดการแข่งขันแก่ครูอาจารย์และผู้สนใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกีฬายิมนาสติกมากยิ่งขึ้น และในปีนี้ได้จัดให้กีฬายิมนาสติกเป็นกีฬาหนึ่งในการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยศึกษา
- พ.ศ. 2521 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ยิมนาสติกเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ได้รับความสนใจเข้าชมรมจากประชาชนและเยาวชนมากพอสมควร และในปีนี้เองกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้วิชายืดหยุ่นซึ่งเป็นพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬายิมนาสติกเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ถึงแม้จะไม่ได้เหรียญรางวัล แต่ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักกีฬามากขึ้นแต่ถ้าเป็นการแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ซึ่งเป็นการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยประสบความสำเร็จในกีฬายิมนาสติกมาก โดยเฉพาะในประเภทชาย
- พ.ศ. 2537 การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น นักกีฬายิมนาสติกของจีนครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิงสำหรับนักกีฬาของไทยที่เข้าร่วมแข่งขันก็ประสบความสำเร็จใจการแข่งขันอุปกรณ์ห่วงพอสมควร คือ นายอมรเทพ แววแสง
- พ.ศ. 2538 การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย นักกีฬายิมนาสติกของไทย ครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิงโดยได้เหรียญทองทั้งประเภททีม และประเภทเดี่ยวรวมทุกอุปกรณ์ และในแต่ละอุปกรณ์ก็ได้เหรียญทองเกือบทุกประเภท
อะไรคือประเภทต่างๆของยิมนาสติก?
ในกีฬาโอลิมปิกมียิมนาสติกอยู่สามประเภท ได้แก่ ยิมนาสติกศิลปะยิมนาสติกลีลาและ trampoline ยิมนาสติกศิลป์เป็นที่รู้จักมากที่สุด ชาย และ หญิง ทั้งคู่แข่งขันกันบนอุปกรณ์เช่น แถบไม่สม่ำเสมอบาร์ คู่ขนานและแหวน ยิมนาสติกลีลา อาจเป็นที่รู้จักกันดีเป็นอันดับสอง นักกีฬายิมนาสติกแข่งขันกันบนเสื่อชั้นเดียวกัน แต่พวกเขาใช้ริบบิ้นเชือกห่วงและอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตร trampoline ได้รับการตั้งชื่อตามระเบียบวินัยโอลิมปิคของยิมนาสติกสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2000 นักกีฬายิมนาสติกทำกิจวัตรบน trampoline เสร็จสิ้นการพลิกทุกครั้งที่เด้ง ประเภทอื่น ๆ ของยิมนาสติกที่ยังไม่ได้อยู่ในรายชื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ได้แก่ ไม้ลอยกายกรรมกายกรรมและยิมนาสติกกลุ่ม